ผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้แสดป่า

ผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้แสดป่า (บนเส้นด้ายฝ้าย 100%)

กระบวนการย้อม : แบบโพสต์มอร์แดนท์ (Post-Mordant)

สารมอร์แดนท์ : น้ำสารส้ม

ขนาด (กว้าง x ยาว) : 80 x 394 cm.

สร้างสรรค์ผลงาน : นางสาวปัดถิดา เสียงเย็น กลุ่มทอผ้าบ้านคำนางโอก ต.ร่มเกล้า อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร

สนับสนุนโดย : วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

ผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ไคร่นุ่น

ผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ไคร่นุ่น (บนเส้นด้ายฝ้าย 100%)

กระบวนการย้อม : แบบพรีมอร์แดนท์ (Pre-Mordant)

สารมอร์แดนท์ : จุนสี

ขนาด (กว้าง x ยาว) : 80 x 388 cm.

สร้างสรรค์ผลงาน : นางวานร ขำคม กลุ่มทอผ้าบ้านคำนางโอก ต.ร่มเกล้า อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร

สนับสนุนโดย : วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

ผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้เพกา

ผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้เพกา (บนเส้นด้ายฝ้าย 100%)

กระบวนการย้อม : แบบโพสต์มอร์แดนท์ (Post-Mordant)

สารมอร์แดนท์ : น้ำมะขามเปียก

ขนาด (กว้าง x ยาว) : 80 x 176 cm.

สร้างสรรค์ผลงาน : นางสำรวย สมประสงค์ กลุ่มทอผ้าบ้านคำนางโอก ต.ร่มเกล้า อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร

สนับสนุนโดย : วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

การย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้

1. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นเพกา + น้ำต้มใบยูคา) = สีเขียวอ่อน

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. นำฝ้ายลงไปต้มในน้ำกับมอร์แดน (น้ำต้มใบยูคา)

3. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นเพกา ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

รูปที่ 10 เปลือกเพกา

4. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นเพกา ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

รูปที่ 11 ขยำเพื่อให้ซึมเข้าเส้นฝ้าย

5. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 นาที (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 นาที

6. เมื่อครบ 45 นาที นำลงจากเตา เขียนป้ายชื่อแขวนกำกับ ยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

รูปที่ 12 ผึ่งแดดให้แห้ง

2. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นเพกา + น้ำด่างปูนไส) = สีเขียวขี้ม้า

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวม ๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นเพกา ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นเพกา ประมาณ 10 – 15 นาที เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 นาที (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 นาที

5. เมื่อครบ 45 นาที นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (น้ำด่างปูนไส) ขยำฝ้ายประมาณ 10- 15 นาที

6. เมื่อครบ 15 นาที บิดให้แห้ง  เขียนป้ายชื่อแขวนกำกับ ยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

3. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นเพกา + น้ำด่างขี้เถ้า) = สีเขียวอมเหลือง

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นเพกา ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นเพกา ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 นาที (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 นาที

5. เมื่อครบ 45 นาที นำลงจากเตา

6. นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (น้ำด่างขี้เถ้า) ขยำฝ้ายที่แช่ในน้ำมอร์แดนซ์ ประมาณ 10-15 นาที และยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น เขียนป้ายชื่อแขวนกำกับ

4. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นไค่นุ่น + น้ำต้มใบยูคา) = สีน้ำตาลอมชมพู

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. นำฝ้ายลงไปต้มในน้ำมอร์แดน (น้ำต้มใบยูคา) ***

3. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นไค่นุ่น ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

4. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นไค่นุ่น ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

5. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

6. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา เขียนป้ายชื่อแขวนกำกับ ยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

หมายเหตุ : เปลือกต้นไค่นุ่น ต้องเอาเปลือกไม้ชั้นนอกออก นำไปต้มสกัดสีเฉพาะเปลือกไม้ชั้นใน และสับให้มีชิ้นเล็ก ๆ

5. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นไค่นุ่น) = สีโอวัลติน

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นไค่นุ่น ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นไค่นุ่น ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

5. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา เขียนป้ายชื่อแขวนกำกับ ยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

หมายเหตุ : เปลือกต้นไค่นุ่น ต้องเอาเปลือกไม้ชั้นนอกออก นำไปต้มสกัดสีเฉพาะเปลือกไม้ชั้นใน และสับให้มีชิ้นเล็ก ๆ

6. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นไค่นุ่น + น้ำด่างขี้เถ้า) = สีกรัก

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นไค่นุ่น ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นไค่นุ่น ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

5. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

6. นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (น้ำด่างขี้เถ้า) ขยำฝ้ายที่แช่ในน้ำมอร์แดนซ์ ประมาณ 10-15 นาที และยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น เขียนป้ายชื่อแขวนกำกับ

หมายเหตุ : เปลือกต้นไค่นุ่น ต้องเอาเปลือกไม้ชั้นนอกออก นำไปต้มสกัดสีเฉพาะเปลือกไม้ชั้นใน และสับให้มีชิ้นเล็ก ๆ

7. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นสีเสียด + น้ำต้มใบยูคา) = สีไมโล

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวม ๆ

2. นำฝ้ายลงไปต้มในน้ำมอร์แดน (น้ำต้มใบยูคา) ***

3. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นสีเสียด ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

4. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นสีเสียด ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

5. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

6. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา เขียนป้ายชื่อแขวนกำกับ ยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

8. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นสีเสียด + น้ำด่างปูนไส) = สีส้มอิฐ

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นสีเสียด ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นสีเสียด ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

5. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

6. นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (น้ำด่างปูนไส) ขยำฝ้ายประมาณ 10 – 15 นาที เขียนป้ายชื่อแขวนกำกับ ยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

9. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นไค่นุ่น + หมักโคลน) = สีเทา

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นไค่นุ่น ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นไค่นุ่น ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

5. นำไปหมักโคลน อัตราส่วน โคลน : น้ำ คือ 1 : 3 ใช้มือขยำโคลนกับฝ้ายให้เข้ากัน ระยะเวลาการหมัก 30 น.

6. เมื่อครบ 30 น. ล้างด้วยน้ำเปล่าจนสะอาด เขียนป้ายชื่อแขวนกำกับ และนำไปผึ่งให้เย็น

หมายเหตุ : เปลือกต้นไค่นุ่น ต้องเอาเปลือกไม้ชั้นนอกออก นำไปต้มสกัดสีเฉพาะเปลือกไม้ชั้นใน และสับให้มีชิ้นเล็ก ๆ

10. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นสีเสียด + น้ำด่าง) = สีส้มอิฐ

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นสีเสียด ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นสีเสียด ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

5. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

6. นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (น้ำด่าง) ขยำประมาณ 10 – 15 น. เขียนป้ายชื่อกำกับ ยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

11. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นงิ้วป่า + น้ำต้มใบยูคา) = สีครีม

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ  

2. นำฝ้ายลงไปต้มในน้ำมอร์แดน (น้ำต้มใบยูคา) ***

3. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นงิ้วป่า ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

4. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นงิ้วป่า ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

5. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

6. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา เขียนป้ายชื่อกำกับ  ยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

12. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นมะม่วง + ปูนกินหมาก) = สีเขียวไพร

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นมะม่วง ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นมะม่วง ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

5. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

6. นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (ปูนกินหมาก) ขยำประมาณ 10 – 15 น. เขียนป้ายชื่อกำกับ ยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

13. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นมะม่วง + น้ำต้มใบยูคา) = สีเหลืองอ่อน

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. นำฝ้ายลงไปต้มในน้ำมอร์แดน (น้ำต้มใบยูคา)

3. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นมะม่วง ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

4. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นมะม่วง ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

5. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

6. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา เขียนป้ายชื่อกำกับยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

14. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นมะม่วง + น้ำด่างปูนไส) = สีเขียวอมเหลือง

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นมะม่วง ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นมะม่วง ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

5. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

6. นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (น้ำด่างปูนไส) ขยำประมาณ 10 – 15 น. เขียนป้ายชื่อกำกับ ยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

15. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นไค่นุ่น + ปูนกินหมาก) = สีน้ำตาลทอง

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นไค่นุ่น ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นไค่นุ่น ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

5. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

6. นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (ปูนกินหมาก) ขยำประมาณ 10 – 15 น. เขียนป้ายชื่อกำกับ ยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

16. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นสีเสียด + หมักโคลน) = สีเทาควันบุหรี่

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นไค่นุ่น ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นไค่นุ่น ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

5. นำไปหมักโคลน อัตราส่วน โคลน : น้ำ คือ 1 : 3 ใช้มือขยำฝ้ายกับน้ำโคลนให้เข้ากันประมาณ 10 – 15 นาที หมักทิ้งไว้ ระยะเวลาการหมัก 30 น.

6. เมื่อครบ 30 น. ล้างด้วยน้ำเปล่าจนสะอาด เขียนป้ายชื่อกำกับ และนำไปผึ่งให้เย็น

17. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นงิ้วป่า + หมักโคลน) = สีขาวขุ่น

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นงิ้วป่า ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นงิ้วป่า ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

5. นำไปหมักโคลน อัตราส่วน โคลน : น้ำ คือ 1 : 3 ใช้มือขยำฝ้ายกับน้ำโคลนให้เข้ากันประมาณ 10 – 15 นาที หมักทิ้งไว้ ระยะเวลาการหมัก 30 น.

6. เมื่อครบ 30 น. ล้างด้วยน้ำเปล่าจนสะอาด เขียนป้ายชื่อกำกับ และนำไปผึ่งให้เย็น

18. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นไค่นุ่น + จุนสี (CuSO4 ) = สีน้ำตาลอมส้ม

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นไค่นุ่น ปริมาตร 1,600 มล. และคอปเปอร์ซัลเฟต 2 % ต่อน้ำหนักเส้นไหมสำหรับฝ้าย 40 กรัม จะใช้คอปเปอร์ซัลเฟต 0.8 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นไค่นุ่น และคอปเปอร์ซัลเฟต ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา เขียนป้ายชื่อกำกับ ยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

19. ขั้นตอนการทำ (คำแสด + น้ำด่างปูนไส) = สีแสด

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำเมล็ดคำแสด ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกคำแสด ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

5. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

6. นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (น้ำด่างปูนไส) ขยำประมาณ 10 – 15 น. เขียนป้ายชื่อกำกับ ยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

20. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นมะม่วง + หมักโคลน) = สีเบส

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นมะม่วง ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

4. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นมะม่วง ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

5. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

6. นำไปหมักโคลน อัตราส่วน โคลน : น้ำ คือ 1 : 3 ใช้มือขยำฝ้ายกับน้ำโคลนให้เข้ากันประมาณ 10 – 15 น. แล้วหมักไว้ 30 น.

7. เมื่อครบ 30 น. ล้างด้วยน้ำเปล่าจนสะอาด เขียนป้ายชื่อกำกับ และนำไปผึ่งให้เย็น

21. ขั้นตอนการทำ (เมล็ดคำแสด + น้ำด่าง + หมักโคลน) = สีแสด

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำเมล็ดคำแสดผสมกับน้ำด่าง ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม (แช่เมล็ดคำแสดกับน้ำด่างขี้เถ้าไว้ 1 คืน แล้วใช้มือขยี้ให้สีของเมล็ดคำแสดออกมา)

3. ขยำฝ้ายในน้ำเมล็ดคำแสดผสมน้ำด่าง ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

5. นำไปหมักโคลน อัตราส่วน โคลน : น้ำ คือ 1 : 3 ใช้มือขยำฝ้ายกับน้ำโคลนให้เข้ากันประมาณ 10 – 15 น. แล้วหมักไว้ 30 น.

6. เมื่อครบ 30 น. ล้างด้วยน้ำเปล่าจนสะอาด เขียนป้ายชื่อกำกับ และนำไปผึ่งให้เย็น

22. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นสะเดา + น้ำต้มใบยูคา) = สีโอวัลติน

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. นำฝ้ายลงไปต้มในน้ำมอร์แดน (น้ำต้มใบยูคา) ***

3. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นสะเดา ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

4. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นสะเดา ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

5. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

6. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา เขียนป้ายชื่อกำกับ และยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

23. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นสะเดา + น้ำด่างขี้เถ้า) = สีกะปิ

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นสะเดา ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นสะเดา ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

5. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

6. นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (น้ำด่างขี้เถ้า) ขยำประมาณ 10 – 15 น.เขียนป้ายชื่อกำกับ และยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

24. ขั้นตอนการทำ (ฝักคูณ + น้ำปูนไส) = สีน้ำตาลเขียว

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มฝักคูณ ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มฝักคูณ ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

5. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

6. นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (น้ำปูนไส) ขยำประมาณ 10 – 15 น. เขียนป้ายชื่อกำกับ และยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

25. ขั้นตอนการทำ (เปลือกต้นสะเดา  + หมักโคลน) = สีเทาอมม่วง

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มเปลือกต้นสะเดา ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มเปลือกต้นสะเดา ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

5. นำไปหมักโคลน อัตราส่วน โคลน : น้ำ คือ 1 : 3 ใช้มือขยำฝ้ายกับน้ำโคลนให้เข้ากันประมาณ 10 – 15 น. แล้วหมักไว้ 30 น.

6. เมื่อครบ 30 น. ล้างด้วยน้ำเปล่าจนสะอาด เขียนป้ายชื่อกำกับ และนำไปผึ่งให้เย็น

26. ขั้นตอนการทำ (ฝักคูณ + น้ำต้มใบยูคา) = สีน้ำตาลอมเขียว

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (น้ำต้มใบยูคา)

3. ตวงน้ำต้มฝักคูณ ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

4. ขยำฝ้ายในน้ำต้มฝักคูณ ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

5. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

6. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา เขียนป้ายชื่อกำกับ และยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

27. ขั้นตอนการทำ (เมล็ดคำแสด  + หมักโคลน) = สีแสด

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำเมล็ดคำแสด ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำเมล็ดคำแสด ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

5. นำไปหมักโคลน อัตราส่วน โคลน : น้ำ คือ 1 : 3 ใช้มือขยำฝ้ายกับน้ำโคลนให้เข้ากันประมาณ 10 – 15 น. แล้วหมักไว้ 30 น.

6. เมื่อครบ 30 น. ล้างด้วยน้ำเปล่าจนสะอาด เขียนป้ายชื่อกำกับ และนำไปผึ่งให้เย็น

28. ขั้นตอนการทำ (ฝักคูณ + หมักโคลน) = สีครีมอมเหลือง

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มฝักคูณ ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มฝักคูณ ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

5 นำไปหมักโคลน อัตราส่วน โคลน : น้ำ คือ 1 : 3 ใช้มือขยำฝ้ายกับน้ำโคลนให้เข้ากันประมาณ 10 – 15 น. แล้วหมักไว้ 30 น.

6. เมื่อครบ 30 น. ล้างด้วยน้ำเปล่าจนสะอาด เขียนป้ายชื่อกำกับ และนำไปผึ่งให้เย็น

29. ขั้นตอนการทำ (ดอกดาวเรือง + น้ำต้มใบยูคา) = สีเทาขี้เถ้า

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. นำฝ้ายลงไปต้มในน้ำมอร์แดน (น้ำต้มใบยูคา)

3. ตวงน้ำต้มดอกดาวเรือง ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

4. ขยำฝ้ายในน้ำต้มดอกดาวเรือง ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

5. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

6. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา เขียนป้ายชื่อกำกับ และยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

30. ขั้นตอนการทำ (ดอกดาวเรือง + น้ำด่างปูนไส) = สีเขียวอมเหลือง

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มดอกดาวเรือง ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มดอกดาวเรือง ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

5. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

6. นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (น้ำปูนไส) ขยำประมาณ 10 – 15 น. เขียนป้ายชื่อกำกับ และยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

31. ขั้นตอนการทำ (ดอกดาวเรือง + สารส้ม) = สีเหลือง

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มดอกดาวเรือง ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มดอกดาวเรือง ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

5. เมื่อครบ 45 น.  นำลงจากเตา

6  นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (น้ำสารส้ม) ขยำประมาณ 10 – 15 น. เขียนป้ายชื่อกำกับ และยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

32. ขั้นตอนการทำ (ดอกดาวเรือง + น้ำด่างขี้เถ้า) = สีเขียวอ่อน

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มดอกดาวเรือง ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มดอกดาวเรือง ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น.

5. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

6  นำฝ้ายลงไปแช่ในน้ำมอร์แดน (น้ำด่างขี้เถ้า) ขยำประมาณ 10 – 15 น. เขียนป้ายชื่อกำกับ และยกขึ้นแขวนผึ่งให้เย็น

33. ขั้นตอนการทำ (ดาวเรือง + หมักโคลน) = สีครีมอมเหลือง

1. ชั่งน้ำหนักฝ้าย 40 กรัม และใช้เชือกฟางมัดพอหลวมๆ

2. ตวงน้ำต้มดอกดาวเรือง ปริมาตร 1,600 มล. สำหรับฝ้าย 40 กรัม

3. ขยำฝ้ายในน้ำต้มดอกดาวเรือง ประมาณ 10 – 15 น. เพื่อให้เส้นใยอิ่มตัว

4. นำไปต้ม เริ่มจับเวลา 45 น. (เมื่อน้ำเดือด) พลิกฝ้ายกลับทุกๆ 5 น. เมื่อครบ 45 น. นำลงจากเตา

5. นำไปหมักโคลน อัตราส่วน โคลน : น้ำ คือ 1 : 3 ใช้มือขยำฝ้ายกับน้ำโคลนให้เข้ากันประมาณ 10 – 15 น. แล้วหมักไว้ 30 น.

6. เมื่อครบ 30 น. ล้างด้วยน้ำเปล่าจนสะอาด เขียนป้ายชื่อกำกับ และนำไปผึ่งให้เย็น

การเตรียมโคลนเพื่อหมักฝ้าย

1 โคลนที่เตรียมไว้ต้องเป็นโคลนที่น้ำแช่ขังตลอดปี เนื้อโคลนละเอียด

2 อัตราส่วน โคลน : น้ำ คือ 1 : 3

รูปที่ 8 โคลนผสมน้ำ 1 : 3

3 ขยำโคลนให้ละลายไปกับน้ำ กรองเอาน้ำโคลนไปใช้หมักผ้า

รูปที่ 9 ขยำโคลนให้เข้ากับน้ำ

การทำผ้าย้อมจากเปลือกไม้พื้นถิ่นบ้านคำนางโอก

1. ต้มเส้นฝ้ายเพื่อให้ไขมันที่เคลือบเส้นฝ้ายหลุดออก  ใช้เวลาต้มประมาณ 30 นาที

รูปที่ 1 การต้มเส้นฝ้าย

2. การต้มสกัดสีเปลือกไม้ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง

รูปที่ 2 การต้มสกัดสีจากเปลือกไม้

3. การเตรียมหม้อต้มน้ำยูคาลิปตัส

3.1 เตรียมใบ+กิ่ง + ก้าน ต้นยูคาลิปตันประมาณ 2 กิโลกรัม น้ำใส่ให้ท่วมใบยูคา ประมาณ 6-7 ลิตร

รูปที่ 3 เตรียมใบยูคาลิปตัน

3.2 ต้มน้ำเพื่อสกัดสีประมาณ 2 ชั่วโมง กรองเอาเฉพาะน้ำต้มใบยูคาเตรียมไว้ น้ำจะเหลือประมาณ 5 ลิตร

รูปที่ 4 ต้มใบยูคา ประมาณ 2 ชั่วโมง
รูปที่ 5 กรองเอาเฉพาะน้ำ

3.3 นำเส้นไยฝ้ายแช่น้ำไว้ก่อน 1 คืน ลงต้มย้อมกับหม้อน้ำใบยูคาลิปตัส พลิกผ้าทุก ๆ 5 นาที ต้มประมาณ 30 นาที และพร้อมนำผ้าไปย้อมสีที่ต้มรอไว้

รูปที่ 6 แช่เส้นฝ้าย
รูปที่ 7 การต้มเส้นฝ้ายกับน้ำยูคา

วิธีย้อมหม้อนิล (หม้อคราม)

วิธีย้อมหม้อนิล (หม้อคราม) แม่วี

1. ใช้น้ำด่าง 1 ลิตร เนื้อคราม 1 กำมือ ละลายให้เข้ากัน

รูปที่ 14 เนื้อคราม 1 กำมือ ละลายในน้ำด่างให้เข้ากัน

2. ตักน้ำครามที่ทำไว้ขึ้นมา 1 ขัน (ประมาณ 1 ลิตร)

รูปที่ 15 ตักน้ำครามมาพักไว้ 1 ขัน

3. นำฝ้ายลงไปในถังใหญ่ที่บรรจุน้ำครามและคั้นจนน้ำเข้าเนื้อฝ้าย (ตอนที่คั้นต้องให้ฝ้ายอยู่ใต้น้ำเสมอ เพื่อที่จะได้สีที่สม่ำเสมอ เมื่อคั้นเสร็จแล้ว ค่อยยกขึ้นทีเดียว) โดยจะคั้น 50 ครั้ง

รูปที่ 16 นำฝ้ายลงในถังบรรจุคราม
รูปที่ 17 ครั้นฝ้ายโดยห้ามยกฝ้ายขึ้นเนื้อน้ำคราม

4. นำน้ำครามที่ตักขึ้นไว้ (ในข้อที่ 2) เทลงถังเหมือนเดิม

รูปที่ 18 นำครามที่ตักมาพักไว้เทลงถังเหมือนเดิม

5. นำผ้าลงย้อมหม้อถัดไปโดยทำซ้ำตามข้อ 2, 3, 4 จนกว่าจะได้สีที่ต้องการ

รูปที่ 19 นำฝ้ายลงย้อมจนกว่าจะได้สีที่ต้องการ

6. เมื่อคั้นเสร็จแล้ว เทน้ำครามตามข้อที่ 1 เพื่อเพิ่มเนื้อสีที่เราย้อมหมดไปให้เกิดสีใหม่ในการใช้ครั้งต่อไป

การก่อหม้อนิล (หม้อคราม)

1. เทน้ำด่างประมาณ ครึ่งถัง (ถัง 20 ลิตร) ใส่มะขามปียก 2 ลิตร ต้องเป็นมะขามเปียกที่ไม่มีเม็ด และคั้นจนฟองขึ้น ไม่ต้องกรอง แต่บีบเนื้อออกและเอากากทิ้ง เทใส่ถัง

รูปที่ 5 ขี้เถ้า
รูปที่ 6 นำน้ำใส่ขี้เถ้าแล้วกรองเอาแต่น้ำใส่เพื่อนำมาเป็นน้ำด่าง
รูปที่ 7 ครั้นมะขามเปียกจนเกิดฟองถึงจะใช้ได้ จากนั้นกรองเอาแต่น้ำโดยไม่ต้องใช้ผ้ากรอง
รูปที่ 8 กรองเอาแต่น้ำโดยไม่ต้องใช้ผ้ากรอง

2. จากนั้นตักปูนขาวใส่ในน้ำด่างเพื่อละลาย เมื่อละลายเสร็จแล้วตักเอาปูนขาว 50 มิลลิกรัม กรองลงน้ำมะขาม เติมน้ำตาลทรายแดง 3 ช้อนโต๊ะ ตามด้วยเหล้าขาว 1 เป๊ก ตักเนื้อคราม 2 กิโลกรัม ใส่ในถังและคนให้เข้ากัน

รูปที่ 9 นำปูนขาวใส่ในน้ำด่างละลายให้เข้ากันแล้วกรองลงถังที่มีน้ำมะขามเปียก
รูปที่ 10 ใส่เหล้าขาวประมาณ 1 เป๊ก
รูปที่ 11 ใส่เนื้อครามประมาณ 2 กิโลกรัม
รูปที่ 12 คนให้เข้ากัน

3. จากนั้นใช้ขันโจกให้เข้ากันอีกครั้ง ทิ้งไว้ 1 คืน เมื่อครบ 1 คืน ตักน้ำด่างเทใส่ 1 ลิตร คราม 50 มล. (ใส่เพิ่มทุกวัน) เทลงไปในถัง และโจกอีกรอบทำจนครบ 1 อาทิตย์ จนน้ำเป็นสีเขียวจึงนำไปใช้ได้

รูปที่ 13 โจกทุกวันแล้วปิดฝาอย่าให้ถูกน้ำเด็ดขาด